วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

สรุป OODBMD


         Object-oriented database management system(OODBMS) หรืออีกชื่อย่อหนึ่งว่า database management system (ODBMS)มันก็คือระบบจัดการฐานข้อมูล(DBMS) ประเภทหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อกำจัดของระบบ RDBMS สามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีขนาดของข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งOODBMS มีความเหมาะสมกับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เช่นMultimedia หรือมีความซับซ้อน ส่วนในคุณสมบัติของ OODBMSนั้นมีคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายประการ เช่น การใช้ภาษาการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OO) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นธรรมชาติและมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการเก็บข้อมูลสมัยใหม่และผู้ใช้งานยังเป็นผู้กำหนดวิธีการเข้าถึงข้อมูลได้ แต่ข้อเสียยังติดอยู่ที่ว่ายังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะในขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา

ส่วนเมื่อกล่าวถึงObject-orientedนั้นมีคุณสมบัติที่สำคัญอยู่ 4 ประการคือ
                -Inheritances หรือ การสืบทอดคลาส
                -Data encapsulation หรือการป้องกันข้อมูล
                - Object identity
                - Polymorphism และ  Dynamic binding  

คุณสมบัติของ ODBMS เมื่อเปรียบเทียบกับ RDBMSคือ RDBMSเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่เป็น scalar ส่วน ODBMS จะมี model ที่ซับซ้อน แต่ ODBMS และ RDBMS สามารถใช้งานร่วมกันได้ และมักจะพบว่าจะถูกใช้งานควบคู่กันไป

โครงสร้างฐานข้อมูลเชิงวัตถุ มีแนวคิดมาจากการเขียนโปรแกรมในรูปแบบ Object –oriented Programming มีหลักการสำคัญคือ
-ออบเจ็กต์ (object)
-คลาส (class)
-การห่อหุ้ม (Encapsulation) 
-ภาวะพหุสัณฐาน (Polymorphism)
-การสืบทอด (Inheritance)

วิธีการแปลงจาก Object ไปเป็น Relation การแปลงข้อมูลจาก Object ไปเป็นข้อมูลตารางหรือ RDBMS เราต้องทำการแปลงObject ไปเป็นข้อมูลในตารางเอง หรือ ไม่ก็ต้องใช้ ไลบรารีจำพวก Object-relational mapping และอย่างไรก็ตามในการจัดเก็บข้อมูลแบบ object ลงในฐานข้อมูลแบบ relational โดยตรง เราจะต้องแก้ปัญญาเรื่องช่องว่างระหว่างobject-relational แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้หาสามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้สิ่งที่เรียกว่า “Object-relational mapping”

                ประโยชน์ของ OODBMS (Object-Oriented Database Management system) เมื่อเทียบกับ RDBMS (relational database management system) OODBMS เป็นคลาสที่มีขนาดใหญ่สามารถเก็บข้อมูลขนาดกลางหลายอย่างซึ่งทำให้สามารถเก็บข้อมูลขนาดกลางได้มากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งหมายความว่า OODBMS มีความสามารถในการจัดการกับข้อมูลที่ซับซ้อนเมื่อเทียบกับ RDBMS และนอกจาก
ODBMSจะมีข้อมูลที่มีความซับซ้อนแล้ว ODBMS จะแสดงผลได้เร็วกว่า RDBMS มาก ๆ และODBMS ยังมีการเขียนโค้ดของโปรแกรมจะน้อยลงกว่าการใช้ RDBMS อีกด้วย

ข้อดีและข้อเสียของ ODBMS
                ข้อดีของODBMSจัดการความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนโครงสร้างเครือข่ายได้เร็วมากและง่ายกว่าฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ช่วยประหยัดเวลาในการเขียนโปรแกรม และสามารถดึงข้อมูลได้เร็วขึ้น มีความยืดหยุ่นในการขยายฐานข้อมูล ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการกับการกระจายข้อมูล คุณสมบัติการสืบทอด Inheritance ทำให้ข้อมูลมีความคงสภาพสูง และเหมาะสำหรับการใช้งานที่ความสัมพันธ์ระหว่างรายการในฐานข้อมูลการดำเนินการที่สำคัญ
                ข้อเสียของODBMS คือ ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ มีค่าใช้จ่ายระบบค่อนข้างสูง ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ยังต้องเรียนรู้อีกมาก และยังไม่มีมาตรฐานรองรับที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

  
บทบาทของ ODBMS ในยุคของ internet คือ ODBMS สามารถจัดการกับข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้ดี และยังมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลของ ODBMS ยังทำให้มันเป็น proxy sever ที่ดีเยี่ยม ซึ่ง sever เหล่านี้มักจะ behind a firewall เพื่อที่จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ ให้สามารถแสดงผลได้เร็วขึ้นลด ปัญหาการจราจรผ่าน gateway   ถึงแม้ Object-oriented programming จะกลายเป็นมาตรฐานในการพัฒนาโปรแกรม แต่ Object Database ยังคงไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร ปัจจุบันนี้การจัดการข้อมูลแบบใหม่มีความต้องการวิธีของ Object-oriented มากขึ้นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง data management และ internet มีมากขึ้นตามไปด้วย.




แหล่งที่มาของข้อมูลทั้งหมด

เอกสารอ้างอิง

http://www.geocities.ws/ch_schneide/ODBMS.htm



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น